เว็บเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ชุมชนช่างยาสูบและผู้สนใจ

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Trend View By Excel

ในกรณีที่เราต้องการที่จะ Monitor ค่าการผลิตในกระบวนการ ขอเสนอวิธีการอย่างง่ายโดยนำโปรแกรม Microsoft Office Excel มาปรับใช้เพื่อความคล่องตัวและไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายดูตัวอย่างดังนี้

 
สนใจเรื่องนี้กรุณาติดตามบทความในโอกาสต่อไป

Excel HMI Technics Focus on Maintenance

เทคนิคการสร้าง New Excel HMI " เน้นเฉพาะบำรุงรักษา " นี้เป็นผลงานชนะเลิศโครงการประกวด KM ประจำปี 2556 (12 ก.ย. 2556) ซึ่งเป็นเทคนิคการนำโปรแกรม Microsoft Office Excel มาประยุกต์ให้เป็น HMI (Human Machine Interface) เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับระบบการควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ(ระบบ พีแอลซี) รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ Monitor ค่าผลการผลิตในกระบวนการได้เป้นอย่างดีโดยใช้ต้นทุนต่ำมากๆอีกด้วย ... สนใจอ่านต่อที่ NewHmiFocusOnMaintenance

 
Download บทความที่นี่
Download ไฟล์ตัวอย่าง Tankfill

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

HMI test QB406

Clip ทดสอบกับอุปกรณ์ แอนดอร์ย เป็น WMV เพื่อแก้ปัญหาการเล่นไฟล์วิดีโอ
 

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทความ : รู้จัก Beckhoff PLC เบื้องต้น (ตอน2)


BECKHOFF PLC จัดเป็นอุปกรณ์ประเภท Embedded PC-Modula DIN rail IPCs ชนิดหนึ่งซึ่งทางผู้ผลิตได้นิยามไว้ในคำโฆษณาว่า New Automation Technology อันเป็นจุดขายสินค้าของตน สำหรับผู้เขียนเองขอนิยามเพื่อสื่อให้เข้าใจโดยง่ายว่า BECKHOFF PLC จัดเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ฝังตัวซึ่งได้รวมเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโมดูล อินพุต/เอาต์พุต เข้าด้วยกันในรูปแบบ Modular ซึ่งสามารถติดตั้งได้ในระดับของราง (DIN rail) เพื่องานควบคุมฮาร์ดแวร์อุตสาหกรรม PLC เป็นการเฉพาะ โดยจัดให้มีการควบคุมด้วยการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เตรียม Excel เพื่อการเปลี่ยนเป็น HMI

ก่อนที่เราจะทำการเปลี่ยน Excel ให้เป็น  HMI นั้นจะต้องทำการเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้

ทักทายครับ

สวัสดีครับชาวชุมชน KM โรงงานยาสูบ ทุกท่าน จากการที่ได้ห่างหายไปนานครั้งนี้กลับมาแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ในการทำงานกันอีกครั้งนะครับ หวังว่าในบางเรื่องราวอาจจะมีประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย หากมีสิ่งใดที่พอจะแลกเปลี่ยนกันได้ก็ขอเชิญนะครับ...ท่านสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็น หรือฝากคำถามใดๆ ได้ตามอัธยาศัย...ด้วยความยินดี


 
 

บทความ : รู้จัก Beckhoff PLC เบื้องต้น (ตอน1)

สวัสดีครับชาวช่างยาสูบทุกท่าน บทความที่นำเสนอนี้จะเป็นการแนะนำอุปกรณ์พีแอลซีซึ่งเป็นของ BECKHOFF ทำไมเราต้องทำความรู้จักมันด้วย ติดตามต่อได้เลยครับ

ความเป็นมา:
          หลังจากที่ผู้เขียนกลับมาจากการศึกษาดูงานด้านเครื่องจักรการผลิตบุหรี่ ณ.ประเทศสหพันธ์รัฐเยอรมนีและสาธาราชรัฐลักเซมเบิร์ก ระหว่างวันที่ 12 – 18 กันยายน 2556 พบว่าแนวโน้มของเครื่องจักรที่จะนำมาใช้ในโรงงานยาสูบแห่งใหม่ล้วนถูกติดตั้งระบบควบคุมไฟฟ้าด้วยพีแอลซีของ "Beckhoff"เสียเป็นส่วนใหญ่ และจากการที่ได้ศึกษาของระบบ "Beckhoff" นี้ทำให้ทราบว่ามีความแตกต่างจากระบบของ พีแอลซีทางฝั่งของ “SIEMENS” เป็นอันมาก

          ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของช่างไฟฟ้าโรงงานยาสูบ จึงเกิดแนวคิดที่จะนำมากล่าวถึงบ้างเพื่อเป็นแนวทางในการรับมือกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์ใหม่ๆที่จะมีเข้ามา สิ่งเหล่านี้นับเป็นงานหนักของช่างไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะต้องซ่อมแซมอุปกรณ์เป็นแล้วยังจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องซอฟแวร์ที่ประกอบอยู่ภายในอุปกรณ์เหล่านั้น รวมถึงต้องมีความสามารถในเรื่องการโปรแกรมได้อีกด้วย



รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ พีแอลซี BECKHOFF CX5000 Series พร้อม Module ต่างๆ
 

ขอบเขตเนื้อหาของบทความ “เรียนรู้และเข้าใจ BECKHOFF PLC เบื้องต้น”

แนะนำให้รู้จัก BECKHOFF PLC เป็นการเบื้องต้นเพื่อก้าวไปสู่การศึกษาในระดับต่อๆไปและเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้ที่จะมีการนำมาใช้ในโรงงานผลิตยาสูบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นเนื้อหาในเฉพาะของหลักสูตรนี้จะกล่าวถึงพื้นฐานของอุปกรณ์ BECKHOFF PLC  รวมถึง TwinCAT PLC Control Software เท่านั้น
ติดตามตอนหน้าครับ